วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ตรวจเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงาน ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์


วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ที่ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บ้านกระเจา ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ 2 พร้อมด้วย พลตรี อดุลย์ บุญธรรมเจริญ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 / ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี ตรวจเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานภายในฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-19 โดยมีนายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้นำชุมชน ต้อนรับ และนำเยี่ยมชม



ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ได้ทรงพระราชทานฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-19 โดยมุ่งหวังให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงาน ขาดรายได้จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้มีรายได้และพึ่งพาตนเอง รวมทั้งมีความรู้จากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ มีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชุนอยางถาวร และยั่งยืน อีกทั้ง เพื่อให้ฟาร์มตัวอย่างมีการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและให้ความรู้ด้านการเกษตร การปศุสัตว์ที่ถูกต้องแก่ประชาชน



พร้อมกันนี้ แม่ทัพภาคที่ 2 ได้มอบแนวทางการปฏิบัติงานให้กับ เจ้าหน้าที่โครงการ และสมาชิกด้วย โดยการปฏิบัติงานให้มีการบูรณาการประสานความร่วมมือ เนื่องจากมีหลายหน่วย เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกัน ให้ดำรงการประสาน กับเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ทภ.2 อย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดวันแล้วเสร็จของงาน นั้น ๆ และให้ปฏิบัติอย่างเต็มขีดความสามารถ เพื่อให้เสร็จทันเวลาตามแผนงานโครงการ ให้ประชาชนที่เดือดร้อน ได้รับประโยชน์ และสนองพระราชดำริ ในการ สืบสาน รักษา และต่อยอด อย่างแท้จริง



สำหรับ ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านกระเจา ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเยี่ยมราษฎรที่ศูนย์ศิลปาชีพบ้านบุ ต.ลำดวน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546 ได้มีพระราชดำริให้พัฒนาอาชีพราษฎรให้ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการจัดหาแปลงตัวอย่างสร้างระบบการทำฟาร์มให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ และเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ในการทำการเกษตร โดยเน้นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทำไร่สวนผสม และเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎรในพื้นที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ เป็นแหล่งผลิตอาหารให้แก่ประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่าและน้ำ โดยทุกภาคส่วนพร้อมรับสนองพระราชดำริ ร่วมกันพัฒนาโครงการให้เกิดความก้าวหน้า ให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมี นายสุวิชา แสนสุข ผู้จัดการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-19 อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของโครงการ


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ส่งมอบตู้อบรังสี UVC ฆ่าเชื้อ ให้แก่โรงพยาบาลศิริราช


วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 พล.อ. นเรนทร์ สิริภูบาล ผบ.สปท.และ รศ.ดร.สุวพันธ์ ยิ้มมั่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมอบตู้อบฆ่าเชื้อโรค UVC ขนาดใหญ่(พิเศษ) จำนวน 1 ตู้และ ขนาดเล็กจำนวน 6 ตู้ให้แก่ รศ.นพ.วิศิษฏ์ วามวานิชย์ ผอ.รพ.ศิริราช เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ตั้งแต่เตียงผู้ป่วย ชุด ppe ฯลฯ





จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคควิด-19 ที่มีความรุนแรงและแพร่กระจายในประเทศไทยในขณะนี้ทำให้หน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่เพียงพอกับความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จึงร่วมมือกับโรงเรียนช่างฝีมือทหารพัฒนานวัตกรรมตู้อบฆ่าเชื้อด้วยยูวีเพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลเพื่อใช้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยและลดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 จากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล



ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยยูวีเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาโดย รศ.ดร.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ผศ.ดร.พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาพร้อมทีมงาน ร่วมมือกับโรงเรียนช่างฝีมือทหาร พัฒนานวัตกรรมด้วยฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยในยามวิกฤต ตู้อบฆ่าเชื้อเป็นนวัตกรรมที่อาศัยการฆ่าเชื้อโดยรังสียูวีซี จากหลอดกำเนิดรังสียูวีขนาด 8 วัตต์ จำนวน 2 หลอดที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบนหน้ากากอนามัยที่มีความขาดแคลน จากการทดสอบผลของการฉายยูวีโดยใช้ตู้อบฆ่าเชื้อด้วยยูวีต่อลักษณะของเส้นใยของหน้ากากอนามัย N95 ในท้องตลาดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าตู้อบฆ่าเชื้อด้วยยูวีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ฆ่าเชื้อบนหน้ากากอนามัย N95 ได้มากถึง 10 ครั้งที่ระยะเวลาการฉายยูวี 20 นาทีต่อครั้ง โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างหน้ากากและประสิทธิภาพในการกรอง ยังพบว่าความเข้มของรังสีที่ติดตั้งในตู้อบสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนหน้ากาก N95 ภายในระยะเวลา 1 นาที แสดงให้เห็นว่าตู้อบฆ่าเชื้อด้วยยูวีมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคบนหน้ากากอนามัยในระยะเวลาอันสั้นและอาจจะนำมาประยุกต์ใช้ในการฆ่าเชื้อบนอุปกรณ์การแพทย์ที่ทำจากวัสดุต่างๆ ได้อีกด้วย ทั้งยังผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าของเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐานสากล IEC 60601 มีความปลอดภัยจากการใช้รังสี นอกจากนี้อุปกรณ์ในการประกอบเครื่องหาได้ง่ายภายในประเทศซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเครื่องมือดังกล่าวที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผบ.พล.ร.4 ช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 "ส่งความสุขให้ถึงที่ ส่งกำลังใจให้ถึงบ้าน"


วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 พล.ต.อุกฤษฎ์ นุตคำแหง ผบ.พล.ร.4 พร้อมด้วย ผบช.และ ฝอ.พล.ร.4 เดินทางไปมอบข้าวกล่อง ให้กับประชาชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ณ ลานอเนกประสงค์ชุมชนอภิชาตบุตร อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดยจัดรถครัวสนาม พร้อม กพ. จุดคัดกรอง และได้รับการสนับสนุนวงดนตรีจาก ร้อย.ปจว.ที่ 3 ในการประชาสัมพันธ์และสร้างความบันเทิงให้กับประชาชน โดยร่วมกันเข้าประกอบอาหารแจกจ่ายให้กับประชาชน จำนวน 1,000 กล่อง อีกทั้งได้จัดกำลังพลชุดตัดผมเคลื่อนที่ให้บริการประชาชน ซึ่งมีส่วนราชการและผู้มีอุปการะคุณน้ำสิ่งของเครื่องอุปโภคมาร่วมบริจาคด้วย