ตำราพิชัยสงครามของไทย


ตำราพิชัยสงครามของไทยประเทศไทยมีตำราพิชัยสงครามใช้มา ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ซึ่งนอกจากมีเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธวิธีการรบด้วย ยังมีความเชื่อทางด้านฤกษ์ยามและโหราศาสตร์รวมอยู่ด้วย เช่น สมุดตำราพิชัยสงครามในสมัยอยุธยาวัสดุที่ใช้ทำสมุด ทำจากเยื่อของต้นสาหรือเรียกว่า กระดาษสา

ตัวอักษรที่ปรากฏในสมุดเล่มดังกล่าว เป็นลักษณะตัวอักษรไทยโบราณ และตัวอักษรขอมตัวอักษรไทยโบราณใช้เขียนบรรยายความทั่ว ๆ ไป ส่วนตัวอักษรขอมนั้นใช้เขียนในส่วนที่เป็นบทเวทย์มนต์ หรือยันต์

พิชัยสงครามของพระมหากษัตริย์
ผู้ปกครองแผ่นดินจะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ เพื่อความสงบร่มเย็นแก่ไพร่ฟ้าทั้งปวง ให้รอบรู้หลักการปกครองบ้านเมือง เช่น ให้มีจิตวิทยาในการครองใจเสนาอำมาทย์ผู้สนองราชกิจต่างๆ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัยแห่งความสามัคคี และความจงรักภัคดีของอาณาประชาราษฎ์

ลักษณะให้บังเกิดศึก
หมายถึง การศึกสงครามจะเกิดขึ้นได้เพราะเหตุต่างๆ กล่าวคือ การจะเกิดศึกสงครามแต่ละคราวต้องมีต้นเหตุ ในตำราพิชัยสงครามระบุว่าสาเหตุที่จะบังเกิดศึกมี 13 ประการ คือ ด้วยเหตุแย่งชิงดินแดน แย่งทรัพย์สมบัติ พาหนะ มีผู้ยุยงให้แตกแยก เหตุจากสตรี เสียสัจจะ อุปทูต ราชทูตเจรจาขาดทางไมตรี ฆ่าฟัน ฝักใฝ่กษัตริย์ข้างใดข้างหนึ่ง ข่มเหงลูกค้าวานิช รับศัตรูไว้ในบ้านเมือง ราษฎรและบ้านเมืองทรสถานได้ความทุกข์ยากลำบาก

ในตำราพิชัยสงครามจะมีเรื่องเกี่ยวกับวิชาโหราศาสตร์แทรกอยู่และดูเหมือนจะ มิอิธิพลอย่างยิ่งในการพิชัยสงคราม ดังนั้นจึงต้องมีโหราจารย์ประจำกองทัพเปรียบประดุจดวงตาของกองทัพโดยกำหนด ว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ต้องมีดวงชะตาให้คุณแก่พระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศ นอกจากนั้นการคัดเลือกทหารเข้าประจำในกองทัพต้องนำชื่อของคนเหล่านั้นมาคำ นวนทางมหาทักษาพยากรณ์ซึ่งเป็นวิชาโหราศาสตร์แขนงหนึ่งเพื่อหาตัวเลขมาใช้ เป็นชื่อ เช่น เลข 1 ชื่อครุฑนาม เลข 2 ชื่อพยัคนาม เป็นต้น แล้วจึงให้ผู้มีนามต่างๆ เหล่านั้นเข้าประจำตำแหน่งของกระบวนทัพ

ถ้าฝ่ายข้าศึกเป็นมุสินาม ให้ใช้ขุนพลที่มีชื่พยัคนามออกสู้รบ ถ้านามฝ่ายข้าศึกเป็นสุนัขนามให้ใช้ขุนพลสีนามออกต่อสู้ ถ้าข้าศึกเป็นอชนามให้ใช้คชนามออกต่อสู้ เมื่อจัดการดังนี้แล้วก็จะได้ชัยชนะ และเมื่อจะเคลื่อนทัพไปหนใดก็ต้องกำหนดเวลา ่เชื่อว่้าดีที่สุดเป็นชัยมงคลแก่กองทัพ หรือที่เรียกว่า ฤกษ์พิชัยสงคราม ซึ่งโหราจารย์ประจำกองทัพจะเป็นผู้หาฤกษ์ให้ โดยเชื่อกันว่าฤกษ์เคลื่อนทัพมีอิทธิพลที่จะช่วยส่งเสริมให้มีชัยชนะหรือ ปราชัยแก่ข้าศึก และยังมีพระราชพิธีตัดไม้ข่มนามประกอบฤกษ์ด้วย

การจัดการกองทัพและการเคลื่อนทัพในตำราพิชัยสงครามระบุได้ชัดเจนว่า กระบวนพยุหยาตราทัพต้องประกอบด้วย ริ้วขบวน ขนาบ ขนาน ของเหล่าทหารตามลำดับ เพรียบพร้อมด้วยระเบียบวินัยอันดียิ่ง มีแสนยานุภาพเข้าทำศึก มียุทธานุภาพอันเกรียงไกร มีเสบียงอาหารส่งกำลังบำรุงเสริมพลังรบอย่างพร้อมเพรียง ดั่งคำประพันธ์ที่ปรากำอยู่ในหนังสือสมุดไทยเรื่องตำราพิชัยสงครามเขียนไว้ ว่า
" จัดแจงแต่งพยู่ห์โยธา พลช้างพลม้า อีกพลรบครบครันจัดทหารชาญเข้มแขงขยัน เร่งรัดเลือกสัน ผู้ไวผู่แว่นแก่นการเกนไว้ให้เสรจ์โดยวาร สำเนียงเสียงสาร ให้รู้การศึกทุกอัน ปืนใหญ่หน้าไม้เกาทัน ใหญ่น้อยจงสัน ให้เลือกแต่ล้วนหย่างดี แหลนหลาวทวนง้าวตาวจรี กันถัศหัดถี ทังไล่แลหนีวชาญฯ..."

ในการจัดกองทัพนั้นต้องมีกำลังศึก ๘ ประการได้แก่
> หัวศึกคือแม่ทัพ ,มือศึกคือกองหัวป่า ,ตีนศึกคือช้างม้า ,ตาศึกคือโหราจารย์ ,หูศึกคือกองสอดแนม ,ปากศึกคือทูต ,เขี้ยวศึกคือทหาร ,กำลังศึกคือไพร่พล

การดำเนินศึก
ผู้เป็นแม่ทัพต้องรอบรู้กลศึก หรือวิธีเคลื่อนทัพเพื่อลวงข้าศึกในรูปแบบต่างๆ เช่น เมื่อมีความประสงค์จะเข้าโจมตี ก็แสดงให้เห็นเหมือนไม่มีเจตนาที่จะทำเช่นนั้น หรือยั่วอารมณืให้ข้าศึกรู้สึกโกรธบ้าง เมื่อเห็นว่าข้าศึกมีกำลังเข้มแข็งก็หลีดเลี่ยงเปลี่ยนเป็นลอบเข้าโจมตีให้ เกิดการระส่ำระส่ายก่อน และเข้าโจมตีเมื่อข้าศึกมีกำลังอ่อนลง หรือถ้าข้าศึกพักรบก็คอยรังควานให้รำคาญใจ ดำเนินให้กองทัพแตกความสามัคคี เพื่อกำลังทัพจะได้ไม่เข้มแข็ง เป็นต้น

เหล่านี้ในตำราพิชัยสงครามกำหนดไว้ ๒๑ ประการคือ กลฤทธิ กลสีหจักร กลหลักซ่อนเงื่อน กลเถื่อนจำบัง กลพังภูเขา กลม้ากินสวน กลพวนเรือโยง กลโพงน้ำบ่อ กลพ่อช้างป่า กลฟ้างำดิน กลอินทพิมาน กลผลานศตรู กลชูพิสแสลง กลแข็งให้อ่อน กลย้อนภูเขาหรือพังภูเขา กลเย้าให้ยอม กลจอมปราสาท กลราชปัญญา กลฟ้าสนั่นเสียง กลเรียงหลักยืน และกลปืนพระราม...

ในระหว่างเคลื่อนทัพ ชัยภูมิที่ตั้งกองทัพต้องพิจารณาให้รอบคอบ ตัวอย่างเช่น ภูมิประเทศเป็นแม่นำ้ ลำธาร ห้วย หนอง การจะตั้งกองทัพให้ไว้ช้างอยู่ข้างในไว้ม้าและพลเดินเท้าชั้นนอก แล้วให้ขุดคูทำเป็นกำแพงรอบให้มีหอรบบนกำแพง เป็นต้น ส่วนแบบแผนกระบวนทัพ ต้องจัดแต่พหุยาตราทัพเป็นรูปต่างๆ เช่น แต่งเป็นรูปปราสาทพยูห์ คือเคลื่อนทัพเป็นกระบวนริ้วปราสาท แต่งเป็นรูปจังโกทะกะพยูห์ คือเคลื่อนทัพเป็นริ้วขบวนรูปกระถางดอกไม้ เป็นต้น

การดำเนินศึกตามหลักวิชากลยุทธิ์โบราณในตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้หลายประการ ตัวอย่างเช่น ดำเนินดุจหงส์บิน ให้กองทัพหลวงและพลช้างเดินทัพไปก่อน แล้วให้ จตุรงค์พลทั้งสี่ แยกออกเป็นสองส่่วน ยกตามไไปเป็นซ้าย ขวาแล้วให้ทัพหลวงเฉวียนฉวัด หกคืนตาม

ยุทธวิธีดำเนินศึกอีกประการหนึ่งคือการจัดกระบวนทัพเพื่อการตั้งรับและเข้า ตีขณะประจัญหน้ากันกอปรด้วยแสนยานุภาพอันมีเปรียบเสียเปรียบเช่น จัดรูปทัพรูปสีหนามพยูห์ เป็นการตั้งรับรูปสิงห์ในอิริยาบถก้าวเดิน ใช้สำหรับการตั้งทัพในพื้นที่อันมีชัยภูมิประกอบด้วยป่าชายเขาดงใหญ่ โดยกำหนดให้ทัพหน้าอยู่ที่คอสิงห์ ทัพหลวงอยู่ที่ท้องสิงห์ ทัพหลังอยู่ที่หางสิงห์ และมีกองแซงล้อมรอบอยู่ ๔ ทิศ จัดทัพรูปปทุมพยูห์ เป็นการตั้งทัพรูปดอกบัว ใช้ได้ทั้งตั้งทัพและเดินทัพ ในพื้นที่อันมีชัยภูมิอันเป็นที่ราบกลางทุ่งโล่ง และถ้าจัดทัพตั้งรับรูปปมธุกพยูห์มีรูปดั่งรวงผึ้งย้อย ให้จัดพลรบเข้าตีด้วย ธนุกะพยูห์ มีรูปดั่งคันธนูเป็นต้น

ตำราพิชัยสงครามที่มีฉบับในปัจจุบันถึงแม้จะไม่ให้รายละเอียดเชิงปฎิบัต ิอย่างชัดเจนแต่ก็จัดว่าเป็นเอกสารโบราณที่มีคุณค่ายิ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทยเพื่อชนพื้นหลังได้ศึกษาเป็นพื้ฐานทางการรบ อีกประการหนึ่งชื่อของแม่ทัพนายกองผู้ทำหน้าที่คุมกองทัพนั้นต้องมีชื่อที่ ข่มฝ่ายข้าศึกด้วย เช่น ชื่อของนายทัพหรือขุนพลของกองทัพฝ่ายข้าศึกเป็นนาคนาม ให้ใช้ขุนพลที่มีชื่อเป็นครุฑนามออกต่อสู้ จะได้ชัยชนะ

การนับโมงยามแบบโบราณ
การแบ่งเวลาในสมัยโบราณนั้นแบ่งเวลากลางคืนออกเป็น ๔ ยาม กลางวัน ๔ ยาม
การนับโมงยามแบบโบราณ มีดังนี้
ปฐมยาม จากยามค่ำคืนไปถึง ๓ ทุ่ม (๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.)
ทุติยาม จาก ๓ ทุ่ม ไปจนถึง ๖ ทุ่ม (๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น.)
ตติยาม จาก ๖ ทุ่ม ไปจนถึง ๙ ทุ่ม (๒๔.๐๐-๐๓.๐๐ น.)
ปัจฉิมยาม จาก ๙ ทุ่ม ไปจนถึงย่ำรุ่ง (๐๓.๐๐-๐๗.๐๐ น.)
ประเพณีและพิธีกรรมความเชื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพิไชยสงครามของไทย

โขลนทวาร
พิธีไสยศาสตร์บำรุงขวัญทหารก่อนที่จะออกสงคราม ทำเป็นประตูป่า ซุ้มประตูประดับด้วยกิ่งไม้สดๆให้ทหารในกองทัพลอด มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูงสองข้างประตู ทำพิธีสวดพระเวท ประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ พิธีนี้ต่อมาได้มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย โดยพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าชนะมารแล้วประพรมน้ำมนต์แก่ ทหารที่ลอดซุ้มประตูเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้ว ต้องผ่านโขลนทวารอีก กันเสนียดจัญไร แก้กันภูตผีปีศาจที่อาจติดตามมาจากสนามรบเป็นพิธีการที่บำรุงขวัญทหารผ่าน ศึกไม่ให้เสียขวัญจากการสงครามนั่นเอง

ตัดไม้ข่มนาม
เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งเมื่อจะยกกองทัพออกทำสงคราม โดยตั้งเป็นโรงพิธีขึ้น เอาดินจากใต้สะพาน ดินท่าน้ำ ดินในป่าช้า อย่างละ ๓ แห่ง มาผสมปั้นเป็นรูปข้าศึก แล้วเขียนชื่อแม่ทัพข้าศึก ลงยันต์พุทธจักร บรรลัยจักร ทับลงบนชื่อนั้น แต่งตัวให้หุ่นดังกล่าวเป็นตามเพศภาษาข้าศึก เอาต้นกล้วยและไม้มีชื่อร่วมตัวอักษรเดียวกับชื่อของข้าศึกผู้เป็นแม่ทัพมา ปลุกเสกในโรงพิธีแล้วเอาหุ่นผูกติดกับต้นกล้วย เอาไม้นั้นประกบกันเข้าพราหมณ์อ่านพระเวทเมื่อได้ฤกษ์แล้วพระมหากษัตริย์จะ มีพระบรมราชโองการให้ขุนพลทหารคนใดคนหนึ่งทำพิธีแทน โดยพระราชทาน พระธำมรงค์เนาวรัตน์ และพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ให้ขุนพลจะใช้ดาบอาญาสิทธิ์ฟันไม้นั้นให้ขาดใน ๓ ที แล้วกลับเข้าไปบังคมทูลว่าได้ปราบข้าศึกมีชัยชนะตามพระราชโองการแล้วพร้อม ถวายพระแสงดาบอาญาสิทธิ์และพระธำมรงค์คืน

เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค
เป็นการเคลื่อนทัพตามตำราพิชัยสงครามซึ่งบอกไว้ว่าวันใดหัวนาคจะหันไปทางทิศ ใดในการยกกองทัพนั้น จะต้องเดินทัพไปทางทิศเหนือเดียวกับทิศทางที่หัวนาคเดินไปจะเป็นสิริมงคลแก่ กองทัพ

ละว้าเซ่นไก่
เป็นพิธีบวงสรวงเจ้าป่า เจ้าเขา เทวดา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กองทัพ โดยผู้ทำพิธีจะตั้งเครื่องสังเวยบวงสรวงขอให้ทำการสำเร็จสมปรารถนา แล้วเสี่ยงทายโดยถอดกระดูกไก่เครื่องเซ่นตัวหนึ่งมาดูถ้ากระดูกยาวมีข้อถี่ ถือว่าเป็นนิมิตดี เป็นประเพณีเดิมของชาวละว้า อาจได้รับมาจากอินเดียก็ได้

สวัสดิมงคล
ตำราพิชัยสงครามของไทย...บอกลักษณะมีชัย ไว้สิบประการ แต่คัดลอกต่อๆกันมา จึงเหลือเพียง 8 ประการ คิดอ่านดี วางแผนดี ฤกษ์พานาทีดี ช้างม้ากล้าหาญดี ไม่ขาดอาหาร ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ประกอบพิธีอันถูกต้อง การลักลอบเข้าเผาเมืองมีชัยชนะ...

เหตุที่ทำให้ปราชัย...ตำราก็บอกว่า...มีสิบประการเช่นกัน
อำมาตย์เสนาบดีหมองใจกัน ทหารขัดกัน จอมทัพและเสนาบดีมิได้ปลงใจอันเดียวกัน ช้างม้ามิได้ฝึกปรือดี ขาดอาหารและอดอยาก มีโรคภัย ไพร่พลทะเลาะกัน โหรให้ฤกษ์ฟั่นเฟือน ประการสุดท้าย...ถูกฝ่ายข้าศึกฝังอาถรรพณ์ อาคม อาจารย์พลูหลวง เขียนไว้ในหนังสือ 7ความเชื่อของไทยว่า ตำราพิชัยสงครามไทย รวบรวมมาจากสารพัดตำรา โหราศาสตร์ ยกเมฆ ทักษาพยากรณ์ อภิไธยโพธิบาทว์ สุริยยาตร์ เวทมนตร์คาถา

ตำราสวัสดิมงคล...ก็ถูกใส่ไว้ในตำราพิชัยสงคราม ตัวอย่างดังต่อไปนี้
อนึ่ง ถ้าจะไปรณรงค์สงคราม ห้ามลูกเมียข้าคนอื่นซึ่งอยู่ ภายหลัง อย่าตีหม้อข้าวหม้อแกงบนเรือน อย่าตบตีคนบนเรือน ให้เลือดตกทับเรือน อย่าให้ตบมือเล่นเต้นรำให้จงได้ ถ้าจะไปสงคราม ให้อาบน้ำก่อนค่อยไป เมื่อจะนอนทุกครั้งให้ล้างเท้าเสียก่อน ถ้าจะตัดผมตัดเล็บมือเล็บเท้า ให้ตัดวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ ถ้าจะสระผมให้สระวันอังคาร เสาร์ถ้าจะเรียนวิชาให้เรียนวันพฤหัส

อนึ่ง ห้ามอย่าเอาผ้านุ่งเช็ดหน้า อย่าล้างหน้าด้วยกระบวยกะลา ให้ล้างหน้าด้วยขัน อย่าฆ่าสัตว์ที่ต้องปีเกิด จะเป็นการถอยอายุ การเอาผ้านุ่งเช็ดหน้า ถือกันมากว่าเป็นอัปมงคล ด้วยผ้านุ่งเป็นของต่ำ จะทำให้สง่าราศีเสีย

เรื่องอัปมงคลนี้โบราณถือกันมาก เช่น จะกินหมากเมื่อหยิบใบพลูจะป้ายปูนต้องเด็ดปลายทิ้งเสียก่อน ถือว่าปลายเป็นหางของใบพลู เมื่อจะเก็บผักตำลึงมาแกงก็ต้องเด็ดตีนทิ้ง โบราณถือว่าจะทำให้คาถาเสื่อม

ส่วนกระบวยกะลานั้นถือว่าเป็นของต่ำคนโบราณมักใช้ กระบวยตักน้ำกิน และกระบวยตักน้ำล้างเท้า ไม่นิยมใช้กระบวยตักน้ำล้างหน้า

ความเชื่อนี้ ทำให้ทหารที่ไปสงคราม จะต้องมีขันโลหะเล็กๆติดตัวไปใช้ตักน้ำกินและล้างหน้าเมื่อจะถ่ายมูลหนักมูล เบา ให้หันหน้าไปประจิมและอุดรจึงจะดี อย่าถ่มน้ำลายลงที่อาจม ถ้าถ่มที่นั่น จะเจรจาหาสง่ามิได้

ครั้นถ่ายทุกข์แล้วให้อาบน้ำเสีย ถ้าหาน้ำอาบมิได้ ให้ล้างหน้าลูบหน้าเสีย ถ้าจะอาบน้ำในคลองและห้วยธาร ห้ามถ่ายมูลหนักเบาลงในน้ำ ถ้าตัวอยู่บนบก บนเรือน บนไม้ ถ่ายมูลหนักเบา ลงในน้ำได้แล...

ขอบคุณที่มา http://www1.tv5.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น